เจ้าของกิจการต้องรู้ สร้างแบรนด์อย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ

เจ้าของกิจการต้องรู้ สร้างแบรนด์อย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการที่แบรนด์จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะถ้าเราลองนึกดูว่าวันหนึ่งที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องพึ่งการทำการตลาดอย่างหนักหน่วง ต้องยิงโฆษณาทุกอาทิตย์ แต่คนยังจดจำ พูดถึง และซื้อสินค้าบริการจากแบรนด์ของเราอยู่เสมอจะดีมากแค่ไหน
ถ้าอยากเริ่มต้นสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ก็อย่าพลาดอ่านเคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงเทคนิคการใช้ Mandala Analytics ที่เป็นเครื่องมือ Social Listening Tool เข้ามาเป็นตัวช่วยให้เจ้าของกิจการเพิ่มความได้เปรียบจากข้อมูลเชิงลึกได้เหนือกว่าแบรนด์อื่น ๆ ในตลาดไปอีกขั้นด้วยค่ะ
แบรนด์คืออะไร? ก่อนจะเริ่มสร้างแบรนด์ มาดูความหมายของแบรนด์ให้เข้าใจกันก่อน เจ้าของกิจการมือใหม่จะได้เข้าใจภาพรวมว่าแบรนด์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง แบรนด์ คือทุกสิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องการให้คนจดจำ และรับรู้ว่านี่คือแบรนด์ของคุณ เพราะเจ้าของแบรนด์จะต้องใช้แบรนด์ดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็นลูกค้าให้ได้ ดังนั้นแบรนด์เลยประกอบไปด้วยเนื้อหาภาพต่าง ๆ เช่น การออกแบบเว็บไซต์, โลโก้, สีของแบรนด์, นามบัตร ไปจนถึงน้ำเสียงที่ใช้นำเสนอ และเป้าหมายของบริษัท เป็นต้น
5 ขั้นตอนเริ่มต้นสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ และขายสินค้าบริการ คือการที่ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่อยากได้เป็นลูกค้าคือใคร เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการดูว่าสินค้าบริการของคุณคืออะไร และอยากขายใครก่อน
ตัวอย่างเช่น “แบรนด์ชานม” คนที่อยากได้เป็นลูกค้าคือคนที่ชื่นชอบชานม แต่เคล็ดลับอย่างหนึ่งคือการเลือกกลุ่มเป้าหมายให้เจาะจงมากขึ้นจะทำให้แบรนด์มีตัวตนชัดเจน ลูกค้าแยกแบรนด์ออกจากคู่แข่งได้ง่าย และมีคู่แข่งน้อยลง ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายอาจเป็น “คนที่ชอบชานมที่ทานแล้วอร่อย แต่ไม่อ้วน มีน้ำตาล และส่วนผสมให้แคลอรีน้อยกว่าปกติ”
2. สร้าง Brand Position
Brand Position คือการกำหนดตำแหน่งของแบรนด์ หรือสินค้าบริการ เมื่อแบรนด์เข้าใจกลุ่มเป้าหมายของตัวเองแล้ว จะทำให้แบรนด์เข้าใจตำแหน่งของตัวเองมากขึ้นค่ะ เคล็ดลับคือเมื่อกำหนดตำแหน่งต้องคิดว่าแบรนด์จะแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง แล้วจะสร้างจุดเด่นอะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือกแบรนด์ของเรา
3. เลือกชื่อ, โลโก้ และภาพลักษณ์แบรนด์
การเลือกชื่อแบรนด์
ชื่อแบรนด์ก็เหมือนชื่อคนที่แบรนด์อยากให้ลูกค้ารู้จัก การตั้งชื่อที่ดีจะทำให้แบรนด์ติดอยู่ในใจของลูกค้าไปตลอด
ตัวอย่างไอเดียชื่อแบรนด์:
-ชื่อที่สอดคล้องกับธุรกิจ: ชื่อที่มีความหมายเกี่ยวกับสินค้าบริการ เช่น ร้านดอกไม้ ชื่อแบรนด์ “Florist”
-ชื่อที่สื่ออารมณ์: ชื่อที่อ่านแล้วกระตุ้นความรู้สึกหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น “Freshy”, “Sleepy”
-ชื่อจากที่มา: ชื่อที่มาจากคนสร้างหรือที่มาของแบรนด์ เช่น “Ford”, “โอ้กะจู๋”
-ชื่อจากคำผสม: ชื่อที่มาจากคำรวมกัน เช่น “Facebook”
-ชื่อย่อ: ชื่อที่ย่อให้คนจดจำได้ง่าย เช่น “BMW” ย่อมาจากภาษาเยอรมัน “Bayerische Motoren Werke” และภาษาอังกฤษ “Bavarian Motor Works”
4. สื่อสารเรื่องราวของแบรนด์
เรื่องราวของแบรนด์คือ “เหตุผล” ที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจ ลองนึกถึงเหตุผล, แรงบันดาลใจหรือที่มาว่าแบรนด์เกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลที่ดีกับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่างของแบรนด์ร้านอาหารโอ้กะจู๋ที่อยากให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดีไม่อยากให้ครอบครัวได้รับสารพิษ และสารเคมีตกค้างจึงปลูกผักออร์แกนิกที่ปลูกเองส่งมอบให้กับลูกค้า
ลูกค้าที่อ่านเรื่องราวของแบรนด์ก็จะได้เข้าใจเบื้องหลัง จดจำตัวตน และคุณค่าที่แบรนด์สร้างขึ้นมาเพื่อผู้บริโภค ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบริการได้เลย
5. แชร์แบรนด์ออกไปให้คนรู้จัก
เมื่อสร้างแบรนด์แล้ว เจ้าของกิจการจะต้องแชร์เนื้อหาข้อมูลของแบรนด์ออกไปให้คนรับรู้มากที่สุด
ช่องทางที่ควรแชร์ออกไป:
ร้าน Ecommerce : สร้างหน้าร้านค้า ใส่เนื้อหาที่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลสินค้าบริการ, ช่องทางสั่งซื้อ, ช่องทางติดต่อสอบถาม และตกแต่งให้ตรงกับภาพลักษณ์ที่กำหนดไว้
โซเชียลมีเดีย: เครื่องมือที่ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ และดึงดูดให้คนเข้ามาติดตาม แบรนด์ควรสร้างคอนเทนต์ แชร์เรื่องราว และสร้างการมีส่วนร่วมกับคน
แคมเปญการตลาด: ช่วยส่งเสริมการขาย กระตุ้นให้คนอยากทดลองซื้อสินค้าบริการของแบรนด์ ใช้เป็นโปรโมชันพิเศษ, โปรโมทผ่านอินฟลูเอนเซอร์ หรือจัดกิจกรรมให้คนเข้ามาร่วมสนุกก็ได้